analyticstracking
หัวข้อ   “ ส.ส. แบบไหนที่โดนใจคนไทย
                  ประชาชนส่วนใหญ่ 70.0% อยากเลือก ส.ส. ที่ช่วยเหลือชุมชน แก้ปัญหาให้ชุมชนได้
87.8% ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในวันที่ 24 มี.ค. 62
53.8 % ได้เห็นการหาเสียง ในพื้นที่ของตนเองแล้ว
96.0% ตั้งใจว่าวันที่ 24 มี.ค. 62 จะไปเลือกตั้ง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ส.ส. แบบไหนที่โดนใจคนไทย” โดยเก็บข้อมูล
กับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,199 คน พบว่า ประชาชน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 87.8 ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในวันที่ 24 มี.ค. 62

ขณะที่ร้อยละ 12.2 ไม่ทราบ
 
                 เมื่อถามว่าเคยเห็นรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมือง การหาเสียง
ในพื้นที่ของตนเองหรือไม่อย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.8 เคยเห็น โดยในจำนวน
นี้ร้อยละ 24.2 เห็นการติดป้ายหาเสียง รองลงมาร้อยละ 22.0 เห็นการเดินเท้า
พบปะประชาชน ร้อยละ 21.1 เห็นการใช้รถหาเสียง และร้อยละ 17.4 เห็นการ
หาเสียงผ่านสื่อโซเชียล
ขณะที่ร้อยละ 46.2 ยังไม่เคยเห็น
 
                  เมื่อถามต่อว่า “ผู้สมัคร ส.ส. แบบไหน ที่ท่านอยากเลือก” พบว่า
ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.0 อยากเลือกคนที่ช่วยเหลือชุมชน แก้ปัญหาชุมชน
รองลงมา
คือ ร้อยละ 60.1 อยากเลือกคนมีความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์ก้าวไกล และร้อยละ 52.1
อยากเลือกคนไม่มีประวัติด่างพร้อยด้านการทุจริต
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. ที่คาดว่าจะจัดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่จะถึงนี้
หรือไม่ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 96.0 ตั้งใจว่าจะไป
ขณะที่ร้อยละ 0.9 ตั้งใจว่าจะไม่ไป โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 0.4
ต้องเรียน ทำงาน ติดธุระ และมีร้อยละ 0.2 เท่ากันที่ให้เหตุผลว่า เบื่อหน่ายการเมืองและเลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย
ส่วนที่เหลือร้อยละ 3.1 ไม่แน่ใจ
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. การรับทราบว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในวันที่ 24 มี.ค. 62
                 
                 
 
ร้อยละ
ทราบ
87.8
ไม่ทราบ
12.2
 
 
             2. ข้อคำถาม “เคยเห็นรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมือง การหาเสียง ในพื้นที่ของตนเอง
                  หรือไม่อย่างไร”


 
ร้อยละ
เคยเห็น
โดยเห็น การติดป้ายหาเสียง ร้อยละ 24.2
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) การเดินเท้าพบปะประชาชน ร้อยละ 22.0
  การใช้รถหาเสียง ร้อยละ 21.1
  การหาเสียงผ่านสื่อโซเชียล ร้อยละ 17.4
53.8
ยังไม่เคยเห็น
46.2
 
 
             3. ข้อคำถาม “ผู้สมัคร ส.ส. แบบไหน ที่ท่านอยากเลือก” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
                 

 
ร้อยละ
อยากเลือกคนที่ช่วยเหลือชุมชน แก้ปัญหาชุมชน
70.0
อยากเลือกคนมีความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์ก้าวไกล
60.1
อยากเลือกคนไม่มีประวัติด่างพร้อยด้านการทุจริต
52.1
อยากเลือกผู้สมัครรุ่นใหม่ไฟแรง
28.7
อยากเลือก ส.ส. เก่าในพื้นที่
13.5
อยากเลือกคนที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก
9.2
อยากเลือกคนที่มาจากพรรคการเมืองใหญ่
8.4
 
 
             4. ข้อคำถาม “คิดว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. ที่คาดว่าจะจัดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562
                  ที่จะถึงนี้หรือไม่”

 
ร้อยละ
ตั้งใจว่าจะไป
96.0
ตั้งใจว่าจะไม่ไป
โดยให้เหตุผลว่า เรียน ทำงาน ติดธุระ ร้อยละ 0.4
  เบื่อหน่ายการเมือง ร้อยละ 0.2
  เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย ร้อยละ 0.2
  อื่นๆ ร้อยละ 0.1
0.9
ไม่แน่ใจ
3.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนการรับทราบว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในวันที่ 24 มี.ค. 62
                  2) เพื่อสะท้อนการเห็นรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมือง การหาเสียง ในพื้นที่ของตนเอง
                  3) เพื่อสะท้อนถึงผู้สมัคร ส.ส. แบบไหน ที่อยากเลือก
                  4) เพื่อสะท้อนความตั้งใจจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส.
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 28-29 มกราคม 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 2 กุมภาพันธ์ 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
593
49.5
             หญิง
606
50.5
รวม
1,199
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
98
8.2
             31 – 40 ปี
201
16.8
             41 – 50 ปี
330
27.5
             51 – 60 ปี
332
27.7
             61 ปีขึ้นไป
238
19.8
รวม
1,199
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
721
60.1
             ปริญญาตรี
384
32.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
94
7.8
รวม
1,199
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
164
13.7
             ลูกจ้างเอกชน
255
21.3
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
450
37.4
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
84
7.0
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
222
18.5
             นักเรียน/ นักศึกษา
17
1.4
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
5
0.5
รวม
1,199
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776